วิธีเลือกซื้อบ้าน

วิธีเลือกซื้อบ้าน ก่อนจะซื้อเราต้องประเมินบ้านก่อน มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเถอะ

วิธีเลือกซื้อบ้าน

วิธีเลือกซื้อบ้าน ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่อาจฟังคุ้นหูตามสปอตโฆษณาทางทีวีหรือสื่อออนไลน์ เวลามีโครงการบ้านเปิดขายใหม่ คงไม่มีใครบรรยายบอกว่า ‘บ้านในความหมายของเราคืออิฐ หิน ปูน มาผสมกันจนเป็นที่อยู่อาศัยให้คุณซื้อ’ ซึ่งแน่นอน วิธีเลือกซื้อบ้าน ความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ ควรจะต้องลึกซึ้งกว่านั้น

ประเมินราคาบ้าน ด้วยตัวเองทำยังไง? 

การประเมินราคาบ้าน ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสร้างบ้านใหม่ด้วยตัวเองสักหลัง เพื่อให้เรารู้ว่าควรจะซื้อบ้านในราคาเท่าไหร่ดี ซึ่งในการเลือกซื้อบ้านหรือที่ดินในการสร้างบ้านนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องซื้อมาในราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไป เนื่องจากจะมีผลต่อการซื้อขาย หรือทำกิจกรรมการลงทุนต่าง ๆ ในเรื่องของบ้านในอนาคต ซึ่งในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับการประเมินราคาของบ้าน ว่ามีขั้นตอนการประเมินอย่างไรบ้าน การประเมินบ้านคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร และนอกจากนี้ยังจะพาไปทำความรู้จักกับวิธีการประเมินราคาด้วยตัวเอง และประเมินราคาผ่านธนาคาร ว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง รวมไปถึงสำหรับใครที่ต้องการความรู้เกี่ยวกับบ้านมือสอง ว่าจะมีการประเมินราคาบ้าน มือสอง อย่างไร และจะช่วยให้ลดราคาบ้านลงได้อย่างไรบ้าง ในบทความนี้เราก็จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม : POOL VILLA, Phuket Villa for Sale, Villas Phuket, Phuket Property, PHUKET VILLA, POOL VILLA PHUKET, บ้าน

ทำไมจึงต้องมีการประเมินราคาบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

การประเมินราคาบ้าน มีผลสำหรับการซื้อขาย และกู้เงินซื้อบ้านจากธนาคาร ว่าบ้านหลังที่เราจะทำการซื้อและการขายนั้นควรอยู่ที่เท่าไหร่ บ้านมีราคาที่สูงหรือน้อยกว่าความเป็นจริงหรือเปล่า อีกทั้งยังมีประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้

  • ใช้เพื่อการกู้ยืมเงิน สินเชื่อหรือการให้เครดิต เช่น การจำนองที่ดิน หรือจำนองบ้าน/คอนโด เพื่อใช้กู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้หนี้ หรือใช้เพื่อใช้ในการเป็นหลักประกันในการทำธุรกรรมต่าง ๆ
  • ใช้เพื่อจ่ายเงินชดเชย สำหรับในที่ดินบางส่วนที่อาจถูกการเวนคืนจากภาครัฐ เพื่อที่จะได้รับค่าชดเชยที่สมเหตุสมผลกันกับราคาของบ้านและที่ดินที่เราอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง
  • เพื่อเก็บภาษี ทั้งในส่วนภาษีสินทรัพย์ และภาษีมรดก นอกจากนี้ยังมีการจัดประเมินเพื่อประเมินค่าเช่า และเพื่อประเมินผลประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ซึ่งการซื้อบ้านหรือที่ดิน ไม่ควรซื้อในราคาที่สูงเกินไป เพราะนอกจากจะมีผลต่อการกู้เงินของธนาคารต่าง ๆ แล้ว หากเมื่อเราอยากจะปล่อยเช่าที่ดินหรือบ้านที่เราซื้อมา ก็จะได้กำไรไม่เยอะหรือไม่ได้กำไรตามที่คาดหวังไว้ได้อีกด้วย

ขั้นตอนการประเมินราคาบ้าน สามารถทำได้โดยวิธีไหนบ้าง

1. การประเมินราคาบ้านโดยการเปรียบเทียบกับราคาตลาด

          การประเมินราคาบ้านโดยการเปรียบเทียบกับราคาตลาดนั้น จะทำได้โดยการเปรียบเทียบจากราคาของตลาด โดยอ้างอิงจากราคาของทรัพย์สินในตลาดที่มีลักษณะแบบเดียวกัน เพื่อมาใช้อ้างอิงในการประเมินราคาของสินทรัพย์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้การประเมินราคาที่ดินในการประเมินเป็นหลัก

2. การประเมินราคาบ้านโดยคิดจากรายได้

          การประเมินราคาบ้านด้วยวิธีการนี้ จะเป็นการคำนวณสินทรัพย์ที่คิดว่าจะทำให้เกิดรายได้ ด้วยการเอารายได้ของสินทรัพย์มาเป็นที่ตั้ง แล้วนำมาหารด้วยผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 6-7% ตัวอย่างเช่น หากเราปล่อยเช่าเดือนละ 10,000 บาท หักค่าภาษีและค่าประกันบ้านเช่าไปทั้งหมด 3,000 บาท รายได้ทั้งหมดจะอยู่ที่ 7,000 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 84,000 บาทต่อปี เมื่อนำมาหารกับค่าตอบแทนจากการลงทุน 6% จะมีมูลค่าในการประเมินราคาบ้านอยู่ที่ 1,400,000 บาท

3. การประเมินราคาบ้านโดยคิดจากต้นทุน

          วิธีการประเมินราคาบ้านโดยคิดจากต้นทุน จะมีการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน หลัก ๆ คือ 

  • คำนวนหาราคาของบ้าน ที่ต้องการจะปลูกสร้างใหม่
  • คำนวนหาค่าเสื่อมราคาของบ้าน แล้วนำมาหักออกจากราคาคำนวนของบ้าน ที่ต้องการจะปลูกสร้างใหม่
  • รวมมูลค่าของที่ดินและบ้าน ที่ทำการปลูกสร้างใหม่

3.1 คำนวณหาราคาของบ้าน ที่ต้องการจะปลูกสร้างใหม่

          จะมีวิธีการคำนวณหาราคาของบ้าน ที่นิยมใช้กันถึง 3 วิธี คือ วิธีการสำรวจปริมาณ หรือการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งทางตรง ทางอ้อม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการปลูกสร้างบ้าน เช่น ค่าวัสดุในการสร้างบ้าน, ค่าแรงงาน และค่าเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้กับการปลูกสร้างบ้านโดยตรง และค่าใช้จ่ายทางอ้อมของการสร้างบ้าน เช่น ค่ารับเหมาก่อสร้าง, ค่าประกันความปลอดภัย, ค่าวิศวกรหรือช่างที่ใช้ในการคุมงาน เป็นต้น

3.2 คำนวณค่าทดแทนเป็นหน่วย

          วิธีนี้จะเป็นการคำนวณหาค่าทดแทนของตัวบ้าน เป็นหน่วยตารางเมตร ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งจะนำมาคิดกันต่อว่า ภายใน 1 ตารางเมตร จะใช้ค่าคอนกรีตในการปูพื้นเท่าไหร่ และมีค่าแรงอีกเท่าไหร่ และนำมาคูณเข้ากับตารางเมตรทั้งหมด เพื่อที่จะได้เป็นราคาของพื้นบ้านทั้งหมดนั่นเอง

3.3 การคำนวณราคาบ้านด้วยวิธีการเปรียบเทียบ

          วิธีการคำนวณราคาบ้านด้วยวิธีนี้ จะเป็นการประเมินราคาบ้านด้วยการเปรียบเทียบราคาจากสิ่งปลูกสร้างหรือตัวบ้าน ที่มีราคาใกล้เคียงกัน ซึ่งหากจะใช้วิธีนี้จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้วิธีการคำนวณราคาเปรียบเทียบนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความชำนาญในการประเมินราคาอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

ประเมินราคาบ้านควรทำผ่านใคร ธนาคารมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

 การประเมินราคาบ้าน จะแนะนำให้ทำการประเมินราคาของบ้าน ผ่านธนาคาร โดยสามารถยื่นการประเมินราคาไว้ได้หลาย ๆ ธนาคารพร้อมกัน เพราะการประเมินราคาของแต่ละธนาคาร จะมีความแตกต่างกันมากถึง 20% เลยทีเดียว ซึ่งการประเมินราคาของแต่ละธนาคาร ก็จะมีค่าใช้จ่ายต่างกัน ดังนี้

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

          เกณฑ์การเสียค่าธรรมเนียมสำหรับ ค่าประเมินหลักประกัน ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะมีค่าใช้จ่ายดังนี้

1. สำหรับลูกค้าเงินกู้รายย่อย เงินกู้เพื่อการไถ่ถอนจํานอง และเงินกู้รายย่อยตามโครงการสวัสดิการประเภทไม่มีเงินฝากกับธนาคาร และเงินกู้เพิ่มรายย่อยโครงการ จะมีการคิดค่าธรรมเนียมโดยแบ่งวงเงินออกเป็น 3 แบบคือ

  • สำหรับผู้ที่มีวงเงินขอกู้ไม่เกิน 500,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมในการประเมิน หลังละ 1,900 บาท
  • สำหรับผู้ที่มีวงเงินขอกู้ 500,001 บาท ถึง 3,000,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมในการประเมิน หลังละ 2,800 บาท
  • สำหรับผู้ที่มีวงเงินขอกู้เกิน 3,000,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมในการประเมิน หลังละ 3,100 บาท

2. ในกรณีการกู้ที่มีหลักประกันหรือบ้านมากกว่า 1 แห่ง

  • ถ้าอยู่ในเขตหรืออําเภอเดียวกัน ค่าประเมินราคาจะเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าธรรมเนียมเดิมอีกแห่งละ 50% เช่นจาก ราคาประเมินหลังละ 1,900 บาท เป็น 2,850 บาท
  • ถ้าอยู่ต่างเขต หรือต่างอําเภอกัน ค่าประเมินราคา ก็จะเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าธรรมเนียมเดิมอีกแห่งละ 100% เช่นจากเดิม ราคาประเมินหลังละ 1,900 บาท ก็จะกลายเป็นหลังละ 3,800 บาท

 ธนาคารกสิกรไทย จะอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทต่อ 1 แปลง

ธนาคารกรุงไทย จะอยู่ที่ประมาณ ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์ 2,500 บาท ต่อ 1 แปลง

ธนาคารออมสิน จะแบ่งค่าประเมินออกเป็นตามจำนวนของวงเงินที่ใช้กู้ เช่นเดียวกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดังนี้

  • วงเงินขอกู้ไม่เกิน 1,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท
  • วงเงินขอกู้ 1,000,001 – 3,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 2,800 บาท
  • วงเงินขอกู้เกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 3,700 บาท

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะแบ่งค่าประเมินออกเป็นตามจำนวนของวงเงินที่ใช้กู้ เช่นเดียวกับธนาคารออมสิน และอาคารสงเคราะห์ คือ วงเงินกู้รวมต่อหลักประกันไม่เกิน 10 ล้านบาท จะคิดค่าธรรมเนียม 3,210 บาท ต่อ 1 หลักประกัน

TMB จะเป็นธนาคารที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการประเมินราคาหลักทรัพย์

หากจะประเมินราคาบ้านด้วยตัวเองอย่างง่าย ๆ คร่าวๆ ต้องดูอะไรบ้าง

          สำหรับใครที่อยากจะประเมินราคาบ้าน ด้วยตัวเองแบบคร่าว ๆ อย่างง่าย ๆ สามารถตรวจสอบได้จากคนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินชิ้นนั้น หรือนายหน้า เจ้าของบ้าน หรือคนที่เคยซื้อบ้านประเภทนั้น ๆ เพราะพวกเขาเหล่านั้นน่าจะพอรู้ราคาคร่าว ๆ มาบ้างแล้ว ซึ่งไม่เพียงแค่หาหรือสอบถามแค่เจ้าเดียว แต่ควรหาข้อมูลเพิ่มเติม และหาข้อมูลราคาจากธนาคารประมาณ 3-5 ที่ นอกจากการดูราคากลางแล้ว เรายังควรดูทำเลที่ตั้งของบ้าน ที่มีลำเลที่ตั้งที่ใกล้เคียงที่ทางตลาดซื้อขายกัน และยังต้องคำนึงถึงต้นทุน ค่าเสื่อมสภาพ วัสดุที่ใช้ในการตกแต่งอื่น ๆ รวมไปถึงขนาดของพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ว่าอยู่ในราคาที่สมเหตุสมผลกันหรือไม่ ตามสูตรการคำนวณที่ให้ไว้ในขั้นตอนการประเมินราคา ซึ่งจะสามารถสรุปคร่าว ๆ ในส่วนที่ควรดูในการประเมินราคาไว้ดังนี้

  1. ทำเลที่ตั้งในหมู่บ้าน (ถนนหลัก ถนนซอย ด้านหน้า ด้านใน) ความกว้างถนน สภาพถนน (คอนกรีต ลาดยาง ถนนดิน)
  2. ประเภทของบ้านว่าเป็นประเภทไหน เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านทาวน์เฮาส์
  3. ขนาดของที่ดิน กี่ตารางวา มีขนาดกว้างยาวกี่เมตร
  4. ขนาดความกว้าง และพื้นที่ใช้สอยของตัวบ้าน ทั้งภายในและภายนอก
  5. วัสดุที่ใช้ในการทำบ้านที่สำคัญ เช่น พื้นบ้าน ฝาผนัง ฝ้าเพด้าน มุงหลังคาบ้าน รวมไปถึงคุณภาพระดับเกรดของวัสดุที่ใช้
  6. เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งภายในบ้าน
  7. สภาพอายุการใช้งานและการดูแลรักษา

          เมื่อเราได้แยกราคาข้อมูลของสิ่งต่าง ๆ ในแต่ละหัวข้อที่จำเป็นต้องรู้ออกมาแล้ว เราก็จะเข้าสู่การเปรียบเทียบราคา กับสินทรัพย์หรือที่ดินที่มีความใกล้เคียงกัน เพื่อนำมาคำนวณหาราคาคร่าว ๆ ที่เหมาะสมกับการซื้อขายในท้องตลาดกันต่อไป

หลักเกณฑ์ในการประเมินราคาบ้านที่ธนาคารใช้กัน

ธนาคารจะใช้หลักการประเมินราคาหลักประกัน หรืออสังหาริมทรัพย์ ต่าง ๆ ที่นิยมใช้กัน ดังนี้

1. เปรียบเทียบจากราคาซื้อ-ขาย ของตลาด

          ธนาคารจะมีการเปรียบเทียบการซื้อขายจากการตลาดเป็นหลัก ซึ่งวิธีนี้จะดูเปรียบเทียบจากตารางข้อมูลของสินทรัพย์ประเภทนั้น ๆ และวัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้างอื่น ๆ รวมไปถึงค่าตกแต่งต่าง ๆ ในกรณีที่ห้องมีการตกแต่งหรือเฟอร์นิเจอร์ Build in มาอยู่ในตัวอยู่แล้ว ก็จะมีค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการตกแต่งที่อาจจะทำให้บ้านมีราคาที่สูงขึ้นตามมาได้อีกด้วย และพื้นที่ดินบริเวณนั้นรวมไปถึงขนาดของตัวบ้านที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบราคากันอีกด้วย

2. ให้ใช้วิธีคิดจากต้นทุน

          วิธีนี้จะเป็นการนำราคาตลาดที่ดิน มาบวกเข้ากับราคาต้นทุนในการก่อสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่าวัสดุในการสร้างบ้าน, ค่าแรงงาน และค่าเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง บ้านมาเป็นเกณฑ์การประเมินราคาของบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารแต่ละที่จะมีการใช้บริการบริษัทประเมินราคา เข้ามาช่วยในการประเมินราคาในแต่ละครั้ง เพื่อให้การประเมินราคาเป็นไปในแบบที่ใกล้เคียงกับแนวทางของตลาด และมีมาตรฐานที่ดีมากที่สุด

3. ราคาทรัพย์ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเคยปล่อยกู้ครั้งล่าสุด

          ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการประเมินราคาที่สถาบันการเงินหรือธนาคารใช้ในการประเมินราคา เพื่อเทียบเคียงกับราคาสินทรัพย์ที่ใช้ในการประเมินในรอบใหม่ ที่ได้ราคาที่ใกล้เคียงกัน

4. ราคาประเมินจากกรมที่ดิน

           ราคาประเมินจากกรมที่ดิน ถือเป็นปัจจัยที่ธนาคารใช้ในเป็นเกณฑ์ในการประเมินราคาที่ดิน ในแต่ละทำเลหรือพื้นที่นั้น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินของบ้านและที่ดินบริเวณนั้นให้มีราคาที่สมเหตุสมผลกันมากขึ้น

5. มูลค่าการตกแต่งเพิ่มเติมในกรณีที่มีการต่อเติมทรัพย์สินนั้นๆ

          นอกจากปัจจัยอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ธนาคารก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูมูลค่าในการตกแต่งเพิ่มเติม ของตัวบ้าน ในกรณีที่บ้านบางหลังมีการ Build in ในตัวบ้านมาอยู่แล้วว่ามีมูลค่าของเครื่องใช้ หรือของตกแต่งที่ตกแต่งเพิ่มเติมอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวบ้านส่วนนั้นได้มากขึ้น

บ้านมือสอง หรือบ้านเก่ามูลค่าในการประเมินราคาบ้านเป็นยังไง

          การประเมินราคาของบ้านมือสองด้วยตัวเองนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการคำนวณต้นทุน เปรียบเทียบกับราคาตลาด ตามวิธีที่เคยบอกถึงขั้นตอนการประเมินราคาไปในข้างต้น แต่สำหรับบ้านมือสองนั้น จะมีการเพิ่มเติมขึ้นมาคือ การคำนวณในเรื่องของค่าเสื่อมของตัวบ้านมือสอง ซึ่งจะต้องนำมาหักลบกับจำนวนของต้นทุนบ้าน เพื่อให้ออกมาเป็นราคาของบ้านมือสอง ที่มีราคาลดหย่อนได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะและสภาพของบ้าน ซึ่งจะมีวิธีการคำนวณดังนี้

ตัวอย่าง การประเมินบ้านมือสองด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ คือ หากบ้านของเราเป็นบ้านชั้นเดียวที่มีขนาดประมาณ 200 เมตร ที่มีการปลูกมาแล้วประมาณ 4 ปี

  • ขั้นตอนแรกในการเริ่มต้นประเมินราคาของบ้านมือสองนี้เราจะประมาณต้นทุนในการสร้างบ้านหลังนี้ใหม่ ซึ่งจะอยู่ประมาณ 1,000,000 บาท
  • ก่อนจะนำมาลบกับค่าเสื่อมที่ประมาณไว้คร่าว ๆ จากสภาพ และจำนวนปีที่ใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะคำนวณสูงสุด 5% ต่อปี – 20,000 บาท
  • และนำตัวเลขที่ได้ของต้นทุนมาหักออกจากค่าเสื่อม 1,000,000 – 50,000 = 950,000 บาท

          ซึ่งนอกจากตัวบ้านและค่าเสื่อมแล้ว เราก็ยังจำเป็นที่จะต้องคำนวณจากการประมาณราคาที่ดิน ซึ่งสามารถเช็คได้จากเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์

  • โดยเราจะประมาณราคาที่ดินคร่าว ๆ เป็น 150,000 บาท
  • หลังจากที่ได้ตัวเลขมาแล้วก็จะทำการหาราคาประเมินด้วยการนำตัวเลจของต้นทุนที่หักจากค่าเสื่อมแล้ว มาบวกกับ  950,000 + 150,000 = 1,100,000 บาท

          ทั้งหมดนี้ ก็เป็นรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประเมินราคาบ้าน ที่ค่อนข้างจะครอบคลุมทุกประเด็นสำหรับการประเมินราคาของสินทรัพย์อย่างบ้าน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับคนที่สนใจอยากจะปลูกบ้านหรือทำธุรกรรมเกี่ยวกับการกู้เงิน ที่เกี่ยวข้องกับธนาคารควรรู้ แน่นอนว่าในการทำการประเมินราคาของบ้านที่ดีที่สุดควรหาข้อมูลเบื้องต้น และควรศึกษาเปรียบเทียบการราคาประเมินบ้านในหลาย ๆ ธนาคารเพราะราคาของการประเมินบ้าน ของแต่ละธนาคารจะให้ราคาที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งราคาที่เราได้จากการประเมินนั้นต่างก็จะมีผลในต่อการกู้เงินสำหรับใช้ในการสร้างบ้าน ได้มากน้อยต่างกันอีกด้วย ทางที่ดีถ้าหากใครที่กำลังมองหาธนาคารในการประเมิน ก็ควรยื่นไว้พร้อมกันสัก 4-5 ที่ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ รวมถึงต้องศึกษาดูรายละเอียดในส่วนของวงเงิน และเงื่อนไขของธนาคาร รวมไปถึงค่าธรรมเนียมที่ไม่เท่ากันอีกด้วย นอกเหนือจากเรื่องของการประเมินราคาบ้านแล้ว เรายังมีเคล็ดลับเด็ด ๆ เกี่ยวกับการลงทุนอสังหาฯ  รวมคอนโดน่าสนใจ มองหาบ้านน่าสนใจอีกมากมายให้เพื่อน ๆ ได้ติดตามกัน อย่าลืมติดตาม CondoNewb เอาไว้นะคะ 

บทความที่น่าสนใจ บ้านใหม่พร้อมขาย บ้านโมเดิร์น2ชั้น บ้านโมเดิร์น ขายทาวน์เฮ้าส์ ซื้อบ้านภูเก็ต ซื้อบ้าน ขายบ้านภูเก็ต ddproperty ขายบ้าน บ้านมือสอง สถานที่เที่ยวพัทยา สวนหย่อม จัดสวนหย่อม สวนในบ้าน ห้องครัวสไตล์ลอฟท์ ต้นไม้มงคล ต้นไม้มงคลทนแดด

รูปแบบบ้าน

อ่านเพิ่มเติม แบบบ้าน , Villas Phuket , รีวิวบ้าน , phuket propert , บ้านเดี่ยว , POOL VILLA , บ้านจัดสรร , PHUKET VILLA , วิลล่าภูเก็ต , วิลล่าภูเก็ตที่ขาย , วิลล่าภูเก็ตป่าสัก , วิลล่าราคาถูกภูเก็ต , ซื้อวิลล่า ภูเก็ต , Villas in Pasak. Villas Phuket. SALE VILLA. POOL VILLA PHUKET. Cheap Villas in Phuket. Sale Villas Phuket (RU).POOL VILLA